ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญบุคคลหนึ่งของประเทศไทย เป็นผู้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพฤฒสภาหลายสมัย และได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นทั้งประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานพฤฒสภา

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2431 มีชื่อเดิมว่า “กระแส” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ประวาหะนาวิน” ในขณะดำรงตำแหน่งนายเรือเอก ราชองครักษ์เวร รั้งตำแหน่งหัวหน้ากองตอปิโด กรมสรรพาวุธ

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกรมยุทธศึกษา ได้สวมเสื้อยศเสมอนายเรือตรีผู้ช่วย รับพระราชทานเงินเดือนอัตรานายเรือตรีผู้ช่วยชั้น 3 และเงินค่าวิชาชีพพิเศษประเภทที่ 2 สังกัดกรมบัญชาการเรือกลและป้อม ตามคำสั่งของกรมทหารเรือที่ 192/4273 ลงวันที่ 12 ตุลาคม ร.ศ. 127 ซึ่งนับเป็นนายทหารเรือรุ่นที่ 3 ที่สามารถนำเรือไปในทะเลลึกได้ และมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการตามลำดับดังนี้ - 2453 ผู้บังคับการกองแผนที่ทะเล - 2 มิถุนายน 2467 – 31 พฤษภาคม 2470 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ - 2475 – 2477 เจ้ากรมกรมเจ้าท่า - 28 มิถุนายน 2475 – 6 ธันวาคม 2476 ผู้แทนราษฎรชั่วคราว - 9 ธันวาคม 2476 – 10 พฤษภาคม 2489 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 - 2 กันยายน 2475 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร - 15 ธันวาคม 2476 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร - 26 กุมภาพันธ์ 2476 – 22 กันยายน 2477 ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร - 22 กันยายน 2477 – 12 กุมภาพันธ์ 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ - 30 ธันวาคม 2484 ประธานกรรมการควบคุมและจัดกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกในภาวะคับขัน - 6 กรกฎาคม 2486 – 24 มิถุนายน 2487 ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร - 24 พฤษภาคม 2489 – 9 พฤศจิกายน 2490 สมาชิกพฤฒสภา - 31 สิงหาคม 2489 – 9 พฤษภาคม 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา - 15 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา

ภายหลังจากที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ “คณะราษฎร” ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในวันที่ 25 มิถุนายน 2475 ผู้แทนคณะราษฎรประกอบด้วย พลเรือตรี ศรยุทธเสนี, พันเอก พะยาฤทธิอัคเนย์, พันเอก พระยาทรงสุรเดช, พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ, พันตรี หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี, นายประยูร ณ บางช้าง ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อกราบบังคมทูลขอพระกรุณาอภัยในการกระทำของคณะราษฎร และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม พุทธศักราช 2475 และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมเพียงฉบับเดียว ส่วนร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม พุทธศักราช 2475 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 โดยทรงพระอักษรต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว” ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 กำหนดให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับนี้จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง โดยพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวในครั้งนี้ด้วย

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่ขอลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเจ็บป่วย ต่อมาพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการในคณะรัฐมนตรี ชุดที่ 6 ซึ่งมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2486 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง

24 พฤษภาคม 2489 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภา และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490 และตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นพรรคหนึ่งใช้ชื่อว่า “พรรคกสิกร” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2490 แต่ต่อมาได้ยกเลิกพรรคการเมืองไปเนื่องจากเกิดการรัฐประหารขึ้นในปี พ.ศ. 2494 ซึ่งได้มีการประกาศยกเลิกกลุ่มการเมือง และห้ามมีการชุมนุมทางการเมือง

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2505 สิริอายุ 74ปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406